ค้นหาร้านค้า / Search Shop

ค้นหาเครื่องราง / Search Item

ติดตามพัสดุ

แบนเนอร์โฆษณา

“ตะกรุดในตำนาน หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ พิจิตร “


“ตะกรุดในตำนาน หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ พิจิตร “
ติดต่อร้าน
 

“ตะกรุดในตำนาน หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ พิจิตร “

 

      “ดอกนี้จารยันต์ เมตา” -เมตตามหานิยม-

 

(ท่านเป็นศิษย์พี่ของหลวงพ่อพิธ)

 พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ( หลวงพ่อภู ) วัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร

หลวงพ่อภู แห่งวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร ประวัติดั่งเดิม เป็นชาวอยุธยาเกิดเมื่อเดือน 6

เถาะ พ.ศ. 2398 ที่บ้านผักไห่ เป็นบุตรของนายแฟง นางขำ มีน้องร่วมท้อง 5 คน

เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดาได้ย้ายภูมิสำเนามาหากินที่ บ้านหาดมูลกระบือ ( หาดขี้ควาย )

ตำบลไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร

เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือขอม และไทยกับพระอาจารย์แช่ม ในสำนักของพระอุปัชฌาย์อิน และได้เรียนหนังสือกับ อาจารย์ ( นิ่ม ) เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี ก็สึกออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพ

 

ท่านเป็นคนรักวิชาสนใจด้าน ไสยศาสตร์ หรือ ไสยเวทย์ เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปสกเล็กน้อย “ ไสย ” มาจากคำว่า “ เสยย ” แปลว่าประเสริฐ “ ศาสตร์ ” หมายถึง วิชาการต่าง ๆ มีอาทิเช่น ทางเวทมนต์คาถาและการภาวนาเสกเป่า ฯลฯ “ ไสยศาสตร์ ” หรือ “ ไสยเวทย์ ” จึงแปลว่า ความรู้อันประเสริฐทางเวทมนต์ คาถา ซึ่งผู้ที่ทรงคุณในวิชาการด้านนี้ จะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ คือเป็นผู้รักษาศิลเสมอด้วยชีวิตหรือเป็นผู้มีอภินิหาร หมายถึง บุญญาธิการของแต่ละรูปนาม คำว่า “ อภินิหาร ” พจานุกรมฯ หมายถึง บุญบารมีที่สร้างสมแต่ในอดีตชาติ จึงพอสรุปใจความโดยย่อได้ว่าผู้ที่ทรงคุณทางพระเวทวิทยาคม อย่างสูงสุดก็ดี หรือผู้ที่มีอภินิหาร คือ บุญญาธิการที่สร้างสมแต่ในอดีตชาตินั่นเอง ถ้าขาดคุณสมบัติสองประการ ดังกล่าวก็ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผล หรือถ้าจะมีอยู่บ้าง ก็คงไม่ได้รับผลชั้นสูง

 

จนกระทั่งหลวงพ่อภู อายุได้ 23 ปี บรรดาญาติโยมจึงได้พาไปเข้าอุปสมบท ณ วัดเขื่อน อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อปี 2422 โดยมี พระครูศิลธรารักษ์ ( จัน ) ซึ่งเป็นพระอุปัชณายะ พระอธิการนิ่ม จาก วัดหาดมูลกระบือ กับ พระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อเป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า “ ธมุนโชติ ” แปลว่า ผู้สว่างในทางธรรม และครั้นปี พ.ศ. 2437 ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้นิมนต์มาอยู่วัดท่าฬ่อ เพราะวัดท่าฬ่อสมัยก่อนชำรุดทรุดโทรมขาดการเหลียวแล เมื่อท่านมาอยู่แล้วก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จนครบครัน โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี

 

เดิมท่านตั้งใจจะบวชระยะสั้นแต่แล้วก็ไม่คิดสึก กลับมุ่งศึกษาธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ เคยติดตาม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ฝึกจิตจนกล้าแข็ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเงินมาก รวมทั้งพระอาจารย์อื่น ๆ ที่พบกันกลางป่า ท่านจึงได้วิทยาคมชั้นเยี่ยมมามากนอกจากนี้ยังมีความรุ้เรื่องสมุนไพร และแพทย์แผนโบราณ ตามแบบอย่างหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน และของขลังที่ท่าน หลวงพ่อภู ได้ทำไว้มีมากมายหลายอย่างจริง ๆ จากหลังฐานที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ท่านมีความรู้ด้านภาษาขอมแตกฉานมาก ได้เขียนยันต์ต่าง ๆ เป็นหลักฐานไว้บนกระดานชนวนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งเหล่านี้ท่านทำไว้มากจริง ๆ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอได้ข้าพเจ้าเชื่อว่าเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง และหากลักบานศึกษาได้ในภาคเหนือ ก็จะมี หลวงพ่อภู เท่านั้นที่มีครบทุกอย่าง ท่านสร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก กล่าวอย่างชาวบ้านก็ต้องว่า “ มีวิทยายุทธครบเครื่องเรื่อง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดเมตามหานิยม ดีจริง ๆ ” ( เฉพาะเหรืยญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ถ้ำชา ของหลวงพ่อภู เป็นผู้สร้างแห่งวัดท่าฬ่อ อันมีอานุภาพและชื่อเสียงโด่งดังมาก ) 

ซึ่งเป็นวัตถุของขลังที่หายากมากในสมัยนี้ และเหรียญหางแมลงป่องหลวงพ่อภู

นั้น เป็นเหรียญปั๊มหูในตัว สร้างด้วยเนื้อตะกั่ว ด้านหน้าเหรียญเป็นอักขระขอมทั้งหมด ตรงกลางเป็นยันต์ห้า หรือ เรียกตามภาษาชาวบ้าน ว่า ( ยันต์ตะก้อ ) ยันต์ห้าก็คือ นะ โมพุทธายะ และมีอักขระขอมโดยรอบขอบเหรียญ ส่วนด้านหลังเหรียญหางแมลงป่องมีอักษร ไทยเขียนเป็นภาษาเก่าว่า “ พระครูธุรศักเกียรติคุณ ” และเหรียญหางแมลงป่องมีสองบล็อก บล็อกแรกเป็นบล็อก

ก้นตัว ( ย ) ฐานเป็นเหลียม บล็อกนี้ลายกนกที่หลังเหรียญจะเป็นเส้นเล็กหลายเส้น และมีรายละเอียดมาก ส่วนบล็อกที่สองเป็นบล็อกก้นตัว ( ย ) ฐานเป็นแหลมเฉียง (จะมีรูปอยู่หน้าสุดท้ายของประวัติหลวงพ่อภู ) เหรียญบล็อกสองลายกนกจะเป็นเส้นใหญ่และมีส่วนรายละเอียดน้อยกว่ารุ่นแรก เพราะเหรียญรุ่นสองนี้สร้าง บรรดาลูกศิษย์หลวงปู่ภูสร้างถวายหลังจากที่ท่าน ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นพิเศษที่พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคูณ ใน ปี 2455 ท่าน พระครุธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ( ภู ) หรือหลวงพ่อภู นี้ ท่านเป็นผู้มีสติปัญญารอบคอบรู้เท่าทันการณ์และโอบอ้อมอารีทุกอย่าง ชอบทำการก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์ในพระพุทธ ศาสนาและมีวิชาความรู้ทางด้านวิปัสสนา ธรรมวินัย การช่างไม้ ช่างทอง การแสดง พระสัทธรรมเทศนาเทศมหาชาติชาฎก 13 กัณฑ์ กับทั้งความรู้ทางเวชศาสตร์ และไสยศาสตร์ อีกด้วย จึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพูทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก หลวงพ่อภูมักจะเคร่งครัดในพระธรรมวินัย หลังจากสำเร็จพระปาฎิโมกข์ แล้ว 5 พรรษาต่อมา พระอุปัชฌาย์เกษ์ จึงได้ให้เป็นพระคู่สวน และต่อจากนั้นมาอีก 5 พรรษาเศษ ทางวัดท่าฬ่อเกิดทรุดโทรมลงมาก ทั้งโบสถ์และกุฏิหัดพังลงเพราะขาดพระอธิการที่จะบำรุงรักษา ให้คงทนถาวรอยู่ได้ชาวบ้านท่าฬ่อและบรรดาสานุศิษย์ต่าง ๆ ก็นิมนต์ หลวงพ่อภู จากวัดเขื่อน มาประจำพรรษาอยู่

วัดท่าฬ่อ ท่านได้ทำการก่อสร้างโบสถ์ กุฎิ หอสวดมนต์ พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และธรรมาศน์ จนเป็นผมสำเร็จทุกอย่าง ตั้งแต่นั้นมาวัดท่าฬ่อก็มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับตลอดมา และมีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ พรรษาละมาก ๆ ทุกพรรษา และที่สำคัญพระธรรมวินัยเป็นที่น่าเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ผู้ที่จะมาบำเพ็ญทางการกุศลยิ่งนัก ครั้งพุทธศักราชที่ 2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจราชการ คณะสงฆ์ในมณฑลภาคเหนือ ได้ทรงมาประทับแรมที่ วัดท่าฬ่อ 1 ราตรี และรับสั่งชมเชยชัยภูมิวัดท่าฬ่อยิ่งนัก ท่านก็ได้กระทำการปฎิสันถาร คารวะต้อนรับ และทูลปราศรัยโดยถูกต้องตามระเบียบราชการทุกประการ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงพระราชทานที่ถานันดรสมณศักดิให้รับ พระราชทานสัญญาบัตรพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ เป็นพระครูพิเศษ และได้รับพระราชทานตราเสมาธรรมจักรให้นั่งที่ พระอุปัชฌาย์อุปสมบทกุลบุตรใน

แขวงอำเภอท่าหลวงและทั่วจังหวัดพิจิตร ยังความปลาบปลื้มแก่คณะศิษย์ของท่านเป็นอย่างยิ่งจึงได้แสดงมุฑิตาจิตสร้างเหรียญหางแมลงป่องถวาย และได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น แม้ฝรั่งที่ไปทำทางรถไฟสายเหนือ และไม่ได้นับถือพุทธศาสนายังสยบต่อท่าน ได้ความนับถือท่านอย่างจริงใจ และในบริเวณวัดท่าฬ่อ ท่านได้เลี้ยงสัตว์ไว้มากสัตว์ป่าทุกตัวเชื่องแม้กระกวางและไก่ป่า , แพะ ข้าวสุกก็ดีหญ้าก็ดี ที่ท่านใช้เลี้ยงสัตว์ท่านจะเสกก่อนให้กินเสมอ ปรากฏว่าสัตว์ทุก

ตัวเชื่องและคงกระพันยิงไม่ออก ถึงออกก็ไม่เข้า ของขลังหลวงพ่อภูที่สร้าง ได้แก่ พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ ตรากระต่าย ฝังตะกรุด กระต่าย ก็คือปีเกิดของท่าน และเหรียญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ( ถ้ำชา ) พระรุ่นนี้มีชื่อเสียงมากด้าน

อยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกมีดถูกขวานจามไม่เคยเข้า และป้องกันภัยต่าง ๆ ดีแล ตะกรุดมหารุด และแหวงพิรอด ตะกรุดสร้อยสังวาล ตะกรุดโทนยันต์ค้าขาย ผ้าประเจียด เหรียญใบมะยม เหรียญแปดเหลี่ยม ฯลฯ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ตะพด ท่านทำให้อย่างวิเศษจริง ๆ นอกจาก หลวงพ่อเงิน แล้ว หลวงพ่อภู ยังไปศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อโพธิ์ มาอีกด้วย 

หลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญมาจากปทุมธานี สร้างกุฏิอยู่องค์เดียวที่วัดวังมหาเน่า ปัจจุบัน คือ ( วัดโพธิ์ศรี ) เป็นอาจารย์ที่เรืองเวทย์จริง ๆ ท่านจะเก่งด้าน ตะกรุด และยันต์อักขระ ขนาดเสาไม้กุฏิท่านเวลาไฟไหม้หญ้าคามาใกล้กุฏิ และหลังคากุฏิของท่านก็ทำด้วยหญ้าคาก็ยังไม่ไหม้ ท่านก็นั่งอยู่ในนั้นขณะไฟไหม้ ท่านไม่หนีก็แสดงว่ามีดีจึงอวดได้ บรรดาญาติกลับไปขนถึง 3 เที่ยว บรรทุกใส่เรือล่องลงมายังเมือปทุม ถ้าไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเล่าจะขึ้นไปขนแค่เสาตอม้อเรือนเตี้ย ๆ อย่างนั้น ทางญาติของ

หลวงพ่อโพธิ์จึงเก็บกลับมาที่จังหวัดปทุมธานีหมด เหลือแต่ตำนานว่า ตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์นั้นศักดิ์สิทธิ์ ( ท่านมรณภาพก่อน พ.ศ. 2440 ) ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ ดอกที่สมบูรณ์มากที่สุด ดอกหนึ่ง ปัจจุบันนี้เป็นสมบัติของ หลวงพ่อเปรื่อง ท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ( ปัจจุบัน ) ผู้สนใจขอท่านชมได้ท่านคงจะไม่หวง แต่ขอบูชาต่อไม่ได้ท่านหวงแน่ หลวงพ่อเปรื่องเล่าว่า ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ดีทางคงกระพันเป็นเลิศ เขี้ยวเล็บของสัตว์ร้านไม่เคยได้กลิ่นเลือดของผู้ใช้ตะกรุดนี้อย่างแน่นอน คนถูกยิงมาก็มาก ไม่มีเข้า ตะกรุดของท่านมีประวัติดีมากด้านอยู่คง เจ้าของเดิมเป็นชาวบ้านแถบวัดวังหมาเน่านั่นแหละ พอถึงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำตื้น พอเดินลุยข้ามได้ เจ้าของตะกรุดนี้ก็จูงควายข้ามแม่น้ำ ควายไม่ยอมลง แกก็ลงไปก่อน แล้วดึงเชือกสนตะพายให้ความเดินลงไปตามพอดีมีจระเข้ขนาดใหญ่อยู่แถบนี้ เลยกัดตัวแกเข้าที่บั้นเอว แล้วคาบดำลงไปใต้น้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี ชักมีดเหน็บที่เอว แล้วใช้มือคลำตาจระเข้ เอามีแทงลูกตาของมัน มันจึงปล่อยและหนี้ไป แกมีตะกรุดดอกนี้คาดอยู่ที่เอว จระเข้กัดยังไม่เข้า ปัจจุบัน ตะกรุดดอกนี้เป็นของหลวงพ่อเปรื่องท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลานในขณะนี้ 

บรรดาศิษย์เอกหลวงพ่อโพธิ์มีอยู่ คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อ หลวงพ่อเทียบ 

ยังต้องไปเรียนจากท่านหลวงพ่อโพธิ์ ที่มีวิชาผู้เรืองเวทย์ ในอดีตโอกาสไปเรียนกันท่านหลวงพ่อโพธิ์ และได้รับวิชามามาก หลวงพ่อภูได้สร้างคุณความดีต่อศาสนามาก จึงได้การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด และพระอุปัชฌายะ ตามลำดับ และได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าคณะแขวง

เมื่อพูดถึงการสร้างเครื่องราง ก็ต้องพูดถึงศิษย์เอกของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อครุฑ ( พระครูศิล ธรารักษ์ ) ซึ่งหลายท่านบอกว่าเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน และต่อมาก็ได้ครองวัดท่าฬ่อสืบต่อจากท่าน หลวงพ่อภู หลวงพ่อครุฑนี้เองที่ได้ช่วยเหลือท่านในการสร้างมงคลวัตถุในระยะหลังเมื่อท่านชราภาพแล้ว ผู้ที่ต้องการเช่าหาเครื่องรางของหลวงพ่อภูควรศึกษาอักขระลายมือ

ของท่านให้แม่นยำ แต่ถึงแม้หลวงพ่อครุฑจะสร้างแทนแต่หลวงพ่อภูก็ปลุกเสกให้ใช้ได้ดีเช่นกัน หลวงพ่อภู ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขื่อน และก็ได้นิมนต์มาประจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าฬ่อ ตลอดมาจนได้ 46 พรรษาเศษ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2467 ตรงกับวันพุธ หลวงพ่อภู ท่านได้ลมเจ็บลงเพราะเป็นล้มอัมพาต พระสงฆ์ที่เป็นลัทธิวิหาริกและพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้ตามแพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์มาช่วยกันรักษาพยาบาล จนเต็มความสามารถ ก็มีแต่ทรงกับทรุดลงจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2467 เวลา 04.00 น. เศษ ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพล่วงลับสู่ปรโลกก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง รวมอายุได้ 69 ปี ท่านก็เรียกบรรดาสานุศิษย์ ญาติ

มิตร ทั้งหลายมีอาจารย์ครุฑซึ่งเป็นหลายของท่านเข้ามาสั่งการที่จะยกช่อฟ้าศาลาที่ทำค้างอยู่ให้เป็นผลสำเร็จอีกต่อไปจึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก และเมื่อท่านจากไปทุกคนก็เสียใจกันอย่างมากโดยเฉพาะบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่หลวงพ่อภูที่เลี้ยงไว้ต่างพากันเดินร้องไห้น้ำตาไหลนำหน้าศพหลวงพ่อภู ซึ่งเป็นที่หน้าแปลดใจยิ่งนัก ของสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั่วไปที่หลั่งไหลเข้ามาในงานปณกิจศพหลวงพ่อภู ในเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ชักศพวันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันวันฌาปนกิจที่วัดท่าฬ่อ ฉลองอัฐิธาตุเพื่ออุทิศส่วนกาละปะนาผลหิตานุหัตประโยชน์ไปให้กับท่าน พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ซึ่งเป็นที่เคารพนักถือ และเป็นพระอุปัชฌาย์

แม้ว่าหลวงพ่อภูจะสิ้นไล่หลังหลวงพ่อเงินเพียง 5 ปี แต่ทว่าท่านอายุอ่อนกล่าหลวงพ่อเงินเกือบ 50 ปี เพราะหลวงพ่อเงินอายุยืนมากถึง 114 ปี ( หลวงพ่อเงินชาตะ 2348 – มรณะ 2462 ) ขอท่านที่ได้อ่านหนังสือ โอม เล่มนี้ จงตั้งจิตเป็นปุเรจาริค อุทิศ ส่วนกุศลที่ได้อ่าน ได้เห็น ได้ฟังและได้รู้ความเป็นมาของท่านหลวงพ่อภู ( พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ) ที่เราชาวบ้านท่าฬ่อเคารพนักถือที่ท่านได้มรณภาพจากโลกนี้ไปแล้วนั้นด้วยเทอญ วัดท่าฬ่อ

มีนาคม 2467๙๙๙

ขอบคุณข้อมูลพี่มล เชือกคาด ด้วยครับ

จ, 3 ก.พ. 2563, 09:44
3,010 ราย

Copyright Lanna Amulet All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท ล้านนา อมูเล็ต จำกัด.